วัดพระธาตุดุม

           วัดพระธาตุดุม หรือ พระธาตุดุม ลักษณะดั้งเดิมเป็นพระปรางค์ก่ออิฐ 3 หลังตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีร่องรอยของคูน้ำล้อมรอบเห็นได้ชัด ซึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือและทิศใต้ ปัจจุบันลักษณะคงเหลือเพียงพระปรางค์องค์เดียวสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัยเดียวกับพระธาตุนารายณ์เจงเวง แต่องค์ปราสาทเล็กกว่าพบทับหลังทั้ง 4 ด้าน ด้านทิศเหนือเป็นภาพนารายณ์บรรทมสินธุ์ นอกจากนี้ยังมีภาพเทวดาทรงพาหนะเหนือหน้ากาลประกอบด้วยสัตว์ต่างๆ เช่น ช้าง สิงห์ และลายใบไม้ม้วน การกำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-17 ศิลปะเขมรแบบบาปวน

           พระธาตุดุม ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุดุม หมู่ที่ 13 บ้านธาตุดุม ตำบลงิ้วด่อน อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร พระธาตุดุมเป็นสถาปัตยกรรมแบบปราสาทเขมร(ขอม) สันนิษฐานว่าสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เป็นศิลปะแบบบาปวนพระธาตุดุมในปัจจุบันคงเหลือเฉพาะองค์กลาง ส่วนองค์ทางด้านทิศเหนือและองค์ทางด้านทิศใต้เหลือเฉพาะฐานเท่านั้น มีผู้สันนิษฐานว่า เฉพาะองค์ที่อยู่ทางทิศเหนือและทิศใต้ยังสร้างไม่เสร็จ โครงสร้างของพระธาตุนั้น ฐานก่อด้วยศิลาแลง ส่วนเรือนธาตุและยอดเฉพาะองค์กลางก่อสร้างด้วยอิฐ ด้วยวิธีเรียงอิฐแบบเฟลททิชบอนด์ (Flemish Bond) คือวิธีเรียงอิฐตามหน้ายาว และหน้าตัดอยู่ในแถวเดียวกัน และแบบอิงลิชบอนด์ (English Bond) คือก่ออิฐด้วยวิธีเรียงหน้ายาวแถวหนึ่งและหน้าตัดแถวหนึ่งสลับกัน วิธีการก่ออิฐด้วยวิธีการทั้ง 2 แบบนี้จะไม่สอดด้วยปูน นับว่าพระธาตุดุมใช้วิธีการเรียงอิฐทั้งสองแบบผสมผสานกันส่วนประกอบพระธาตุดุมมีลวดลายและภาพจำหลักประดับตามส่วนต่างๆ ขององค์พระธาตุมีทับหลังกรอบประตูหลอกส่วนใหญ่เป็นวัสดุที่ทำจากหินทราย พระธาตุดุมมีลักษณะองค์พระธาตุเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตัวเรือนธาตุทำเป็นย่อมุมทั้ง 4 มุม และที่ผนังของเรือนธาตุทางด้านเหนือ ใต้ และตะวันตกทำเป็นซุ้ม มีประตูหลอกและเหนือประตูหลอก ขึ้นไปเป็นทับหลัง ในปัจจุบันหลังจากได้บูรณะและมีทับหลังอยู่ทางทิศเหนือเพียงด้านเดียวเท่านั้น เป็นลวดลายรูปสัตว์ ส่วนทางด้านทิศตะวันออกทำเป็นซุ้มสันนิษฐานว่าเป็นที่ประดิษฐานสิ่งที่เคารพบูชา ส่วนยอดทำสอบเรียวป้านขึ้นไป เรียกว่าเครื่องบน ประกอบด้วยเชิงบาตรคล้ายพุ่มแต่ปัจจุบันได้พังทลายลง

 01 CHI 0582 
 DSCF9722 11  NOKIA X6 1490

 


Print   Email

Related Articles